วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เพศที่สาม

1. พิจารณาความเป็นเพศ

                        การพิจารณาความเป็นเพศและความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันจะอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดทางชีววิทยาที่จัดแบ่งไว้เพียงคู่ตรงข้ามเป็นสำคัญ  นั่นคือ  เพศชาย-เพศหญิง (Sex)   และความสัมพันธ์แบบชาย-หญิง (Gender/sexuality) แต่ในความเป็นจริงของสังคมเราจะพบผู้คนอีกมากมายที่มีวิถีการดำเนินชีวิตและรูปแบบความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่ได้สถิตหรือตายตัว  หากแต่มีความลื่นไหลไปมาระหว่างความเป็นหญิงและความเป็นชายตลอดเวลา  ดังจะเห็นได้จากชนเผ่า Kuku-kuku ในนิวกินีและชาวแซมเบีย  ได้มีพิธีกรรมที่จะต้องถ่ายน้ำอสุจิของผู้ชายที่โตเต็มที่ให้กับเด็กหนุ่มทางปากและทวารหนัก  โดยมีความเชื่อว่าการกลืนและถ่ายน้ำอสุจิจะเป็นการทำให้ร่างกายแข็งแรง  มีความเป็นผู้ชาย  เป็นนักรบและนักล่าที่ดี  การประกอบภารกิจของเด็กผู้ชายจะอยู่ในช่วงเวลา  7-8  ปี  หลังจากนั้นก็จะกลับสถานะกลายเป็นผู้สละน้ำอสุจิให้กับเด็กที่อายุอ่อนกว่า  จนกระทั่งอายุประมาณ  16  ปี  เด็กผู้ชายจะยุติพฤติกรรมดังกล่าว ด้วยการแต่งงานและร่วมเพศกับภรรยา (ที่ต่างเพศคือเป็นเพศหญิง) ซึ่งจะเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า เด็กผู้ชายคนนั้นจะกลายเป็นผู้ใหญ่ ความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชายทางสรีระได้นำไปสู่ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงและผู้ชายมีความแตกต่างกันในทางอื่นๆด้วยไม่ว่าจะเป็นในเรื่องสติปัญญา ความสามารถ ความถนัด จิตใจ และอารมณ์ ความเชื่อเช่นว่านี้ได้มีมาเป็นเวลานานนับพันปี ความแตกต่างดังกล่าวมักถูกมองว่าเป็นความแตกต่างที่มีมา “ตามธรรมชาติ” ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การเชื่อที่ว่าผู้หญิงมีความแตกต่างจากผู้ชายได้นำไปสู่สถานะของผู้หญิงที่ด้อยกว่าผู้ชาย เช่น ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงเป็นเพศที่ไม่มีเหตุผลชอบใช้อารมณ์ นำไปสู่การที่สังคมไม่ยอมรับผู้หญิงให้เป็นผู้นำ (King B.M., 1996, p. 225 อ้างอิงใน รัจนี นพเกตุ, 2542, . 84-85)


2.การสะท้อนความเป็นเพศอำนาจเหนือตัวตน

                        2.1 การสะท้อนความเป็นเพศ อำนาจเหนือตัวตน
                              ถึงแม้มนุษย์เรา  จะมีความเหมือนกันในด้านการมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันอย่างเปิดเผย  หากแต่พวกเขาหรือเธอเหล่านั้นมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไป  กล่าวคือ  วิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกัน คือ
                             2.1.1รูปแบบที่ 1 คือ การที่บุคคลเพศที่สาม จะมีการสะท้อนความเป็นเพศของตนว่าคือผู้หญิง และมีวิถีการดำเนินชีวิตอย่างผู้หญิงทุกประการและตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการแสดงออก บุคลิกลักษณะท่าทาง การแต่งกาย และการพูดจา
                             2.1.2รูปแบบที่2  คือ  การที่บุคคลเพศที่สาม จะมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันอย่างเปิดเผยและมีความปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งเพศทางกายภาพของตน  เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต  และสะท้อนความเป็นเพศของพวกตนว่าคือ  “กะเทย”  หรือ  “ผู้ชายหัวใจผู้หญิง”  แต่การที่พวกเขาหรือเธอเหล่านั้นมีความปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งสัญลักษณ์ของความเป็นชาย  (ตามแนวคิดชีววิทยา)  ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีพฤติกรรมการแสดงออกที่สอดคล้องกับเพศสรีระของตนเสมอไป  เนื่องจากพฤติกรรมการแสดงออก  บุคลิกลักษณะ  ท่าทาง  การแต่งกายและวิถีการดำเนินชีวิตของนักศึกษาเพศที่สามเหล่านั้น จะเป็นการผสมผสานระหว่างความเป็นหญิงและความเป็นชายจนกลายเป็นความโดดเด่นหรืออัตลักษณ์ของผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกัน  อีกทั้งจะมีการแต่งกายอย่างเพศหญิงตามโอกาสต่างๆ  อาทิ  การทำกิจกรรมของบุคคลนั้น  ท่องเที่ยว  และเข้าเรียน(รัจรี  นพเกตุ,2542,ไม้ปรากฏเลขหน้า)

3. การยอมรับในสังคมครอบครัว



ภาพทีี่1 ธงสีรุ้ง (LGBT)
ที่มา : http://nidapoll.nida.ac.th/file_upload/poll/thumbnails/20160610031839.jpg


                      3.1 เพศที่สามกับการยอมรับในสังคมไทย
                      สังคม เริ่มตั้งแต่สังคมครอบครัว ที่ใกล้ชิดที่สุดของทุกคน  แต่หากใครที่มีลูกหลานเป็นเพศที่สามและรักเพศเดียวกัน ปัญหากลับชัดเจนที่สุด เพราะความใกล้ชิดของสังคมครอบครัวทำให้คนเรารักและผูกพันเมื่อเกิดความไม่พอใจหรือไม่ยอมรับจากผู้เป็นพ่อและแม่ที่มีความคิดชัดเจนว่าเพศสภาพคือสิ่งที่ถูกต้องชายคือชาย หญิงรักหญิง ไม่ยอมรับเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจึงอาจทำให้เกิดการขัดแย้งในสังคมมามากมาย ที่พบเห็นได้ทั่วไปในละครหลากหลายเรื่องแม้กระทั่งในชีวิตจริง จึงได้คุยกับรุ่นพี่คนหนึ่งที่เป็นหญิงรักหญิงชอบเฉพาะหญิงที่มีจิตใจเป็นผู้ชายหรือที่เรียกว่า ทอมนั่นเอง เธอบอกว่าญาติผู้ใหญ่ยังมองว่าความรักแบบหญิงชายมีความเป็นไปได้และมั่งคงมากกว่าเพศเดียวกัน รุ่นพี่อีกคนที่เป็นหญิงรักหญิงเช่นกันบอกกับเราว่าอยากให้สถาบันครอบครัวยอมรับบุตรหลานของตนที่เป็นเพศเดียวกันให้ได้ ไม่ควรบังคับให้เค้าเลิกเป็นแต่อยากให้ยอมรับและทำความเข้าใจกับเพศที่สาม            
                      3.2 เมื่อลูกหลานเป็นเพศที่สาม หรือรักเพศเดียวกันควรทำอย่างไร
                      ต้องเข้าใจก่อนว่า ลูกหลานของคุณไม่ได้ผิดปกติทางสมองหรือจิตใจแต่อย่างไร แต่เพียงเป็นรสนิยมหรือพึงพอใจในเพศเดียวกัน ลองคิดถึงตัวเองว่า ทำไมเราถึงแฟนเราคนนี้แน่นอนคำตอบต้องไม่ใช่แค่ความเป็นชายหรือหญิงแน่นอน ฉะนั้นก็เช่นเดียวกัน การยอมรับนอกจากจะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้แล้วยังทำให้ความรักความสัมพันธ์ยังคงอยู่และมากขึ้นอีกด้วย เพราะนั่นคือความสุขของคนที่เรารักนั่นเอง
                      3.3 สังคมคิดอย่างไรกับเพศที่สาม
                      “นิด้าโพล” ซึ่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่ 3” ระหว่างวันที่ 15-16 พ.ค. 56 จากประชาชนทั่วประเทศ ทุกภูมิภาคของไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.5 ยอมรับได้ หากมีเพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานเป็นเพศที่ 3 มีเพียงร้อยละ 8.8 เท่านั้น ที่ตอบว่าไม่สามารถยอมรับได้เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติ ส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร  แต่ถ้าหากมีสมาชิกหรือคนในครอบครัวเป็นเพศที่ 3 นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.6 ยอมรับได้ ในขณะที่ร้อยละ 17.3 ไม่สามารถยอมรับได้ เพราะผิดกฎธรรมชาติ ยังต้องการผู้สืบทอดสกุล และเพศที่ 3 มีพฤติกรรมบางอย่างสะดุดตาผู้คน ทำให้ทำใจยอมรับไม่ได้  ถึงแม้ว่ากลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ จะสามารถเข้ามามีบทบาททางสังคมได้มากขึ้น แต่ก็ยังเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
                      สื่อสาธารณะมักให้ภาพคนเหล่านี้เป็นตัวประกอบ ตัวตลก ผู้ร้าย หรือมักสื่อว่าคนเหล่านี้มีความบกพร่องทางจิต ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจของสังคมไทยต่อกลุ่มคนเหล่านี้ แม้จะดูเหมือนว่าสังคมเปิดกว้าง แต่ก็ไม่ได้ยอมรับว่าคนเหล่านี้เป็นคนปกติ เหมือนกับประชากรคนอื่นๆ ที่นิยามว่าตนเองเป็น “หญิง” หรือ “ชาย” สังคมไทยมักใช้คำว่า “เบี่ยงเบนทางเพศ” ในการเรียกคนที่ไม่ปฏิบัติตามแบบแผนหรือบทบาททางเพศที่สังคมได้กำหนด สื่อถึงความบกพร่อง ไม่ปกติ การมองกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศในลักษณะดังกล่าวนั้น บ่มเพาะให้เกิดอคติและความรุนแรงที่แอบแฝงอยู่ในสังคม หลายคนยังถูกดูถูก เหยียดหยาม และไม่ได้รับสิทธิที่เขาพึงจะได้รับ                                       
                      อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยข้างต้นพบว่า หากพ่อแม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศของเด็ก จะส่งผลให้เด็กมีผลการเรียนดีขึ้น มีความสุขมากกว่า ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าน้อยกว่า และคิดฆ่าตัวตายน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การเปิดกว้างนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขและเท่าเทียมกับคนทั่วไป หรือได้รับสิทธิเท่าเทียมกับประชาชนคนอื่นๆ นอกจากนั้นคนบางส่วนในสังคมยังเห็นว่า กลุ่มคนเหล่านี้มีความผิดปกติและต้องได้รับการแก้ไข บางคนมีความรู้ ความสามารถ สามารถทำประโยชน์มากมายให้กับประเทศชาติ แต่ต้องกลับทนต่อการหยามเหยียดเนื่องจากเพศสภาพของตน               
                      3.4 ประโยชน์ของการอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกัน จอดทะเบียนสมรสกันได้
                      ด้านการทำธุรกรรมด้านกฎหมายต่างๆ ต้องทำและได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเท่ากัน รวมถึงทรัพย์สินหรือสินสมรสหากมีฝ่ายใดเสียชีวิตอีกฝ่ายที่ควรได้รับก็จะได้รับผลประโยชน์ตามกฎหมาย เหมือนเช่นคู่สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันทั่วไปเพื่อนของเราที่เป็นเพศหญิงที่รักหญิง หรือเลสเบี้ยนนั่นเอง เธอมองว่าหากมีการอนุญาตให้จดทะเบียนได้ นั่นหมายถึงสังคมยอมรับเพศที่สามอย่างแท้จริงและยังทำให้แสดงได้ว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเพราะทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน   
                      3.5 หากถามว่า ปัจจุบันแท้จริงมีการยอมรับเพศที่สามมากน้อยเพียงใด
                      เคยคุยกับเพื่อนหลายคน ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เดี๋ยวนี้มีเกย์เยอะขึ้น บ้างก็ว่าผู้ชายหล่อไปเป็นเกย์หมด เหตุผลที่แท้จริงอาจเป็นเพราะสังคมยอมรับมากขึ้นเขาจึงกล้าจะเปิดตัวมากขึ้นนั่นเอง  รุ่นพี่วัยทำงานเราที่เป็นเกย์ เขายอมรับเลยว่าปัจจุบัน เกย์ไทยมีที่ยืนในสังคมมากๆมีเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่ยังมีการติติง หากเปรียบกับประเทศอื่นๆบางประเทศที่เขาไม่ยอมรับและยังมีการเหยียดเพศอยู่ โดยเหตุผลนั้นอาจมาจากศาสนา หรือวัฒนธรรม แม้ไม่มีกฎหมายรับรองเธอก็ภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นเกย์ เป็นคนไทยและมีที่ยืนในสังคม  ที่บอกว่าหลายประเทศยังมีการเหยียดเพศนั้น ล่าสุดมีคนรัสเซียปล่อยคลิปนี้ออกมา เป็นชายสองคนเดินจับมือเดินกันมีการแอบถ่ายผู้คนที่เห็นว่ามีพฤติกรรมอย่างไร  แม้คนที่เป็นเพศที่สามหลายคนต้องการอยากให้มีกฎหมายอนุญาตให้จดทะเบียนเพศเดียวกันได้นั้น อาจต้องรอและติดตาม ไม่แน่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจถูกใจก็ได้  แต่อย่างไรก็ตามสังคมชีวิตของหลายคนคงมีความสุขมากขึ้น คนไหนที่ยังรับไม่ได้ในเรื่องนี้ลองเปิดใจกว้างๆ ไม่ต้องกลัวว่าเพศนี้จะเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพื่อนของเราที่เป็นเพศที่สาม อย่างตุ๊ดหรือกระเทยหลายคนสร้างรอยยิ้ม สร้างเสียงหัวเราะ แถมยังหัวสร้างสรรค์ครีเอทของสวยๆงามๆดีกว่าผู้หญิงเสียอีก อีกทั้งยังคนดังมากมายให้เราได้เห็น เช่น ทางจอทีวี คนในวงการบันเทิงมากมายที่เปิดเผยว่าเขามีใจไม่ใช่อย่างเพศสภาพของตน(ฉันลักษณ์ รักษาอยู่,2552)

4. สิทธิมนุษย์ชนกับบุคคลเพศที่สาม



ภาพที่2 สิทธิในการสมรส
ที่มา : http://petmaya.com/wp-content/uploads/2015/06/same-sex-wedding-01.jpg


                      4.1 สิทธิทางสังคมกับมนุษย์เพศที่สาม
                      แต่ไหนแต่ไรมาสังคมในอดีตเหมือนจะมีกันแค่สองเพศคือ เพศชาย และเพศหญิงโดยที่ใช้อวัยวะเพศที่ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งแยก แต่ในปัจจุบันนี้ได้ปรากฏว่ามีเพศทางเลือกถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งคำว่า “เพศทางเลือก” นี้หมายความถึง เพศที่ถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ที่ต้องการเลือกเองว่าตนต้องการเป็นเพศใดหรือที่คนในสังคมเรียกว่า “เพศที่สาม” หรือ “กลุ่มรักร่วมเพศ” นั่นเอง ซึ่งคนในกลุ่มนี้ไม่ว่าจะเป็นกะเทย ตุ๊ดเกย์ทอมดี้เลสเบี้ยน ก็ย่อมหมายถึงกลุ่มคนที่มีความพึงพอใจหรือความรักใคร่กับคนเพศเดียวกัน คนทั่วไปในสังคมมักมองคนกลุ่มนี้ว่าเป็นพวกผิดปกติทางเพศ เป็นตัวประหลาด มองด้วยสายตารังเกียจเดียดฉันท์ ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม สำหรับเพศที่สามนั้นเป็นเพศที่ถูกเอารัดเอาเปรียบในหลายๆด้านและทัศคติต่อคนภายนอกต่อพวกเค้าก็ไม่ดีเป็นเหตุให้พวกเขาเหล่านี้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายๆเรื่อง และรวมถึงสิทธิบางประการที่คนกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงได้เหมือนกับคนในเพศปกติ    
                      ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศนั้นได้ให้การยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ดังจะเห็นได้จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ได้วางหลักไว้ว่า
                      ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
                      ข้อ 2 ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพบรรดาที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าชนิดใดๆดังเช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นๆ รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคของบุคคลเอาไว้ในมาตรา 30 โดยมีหลักว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน”
                      มาตรา 30 วรรคสามได้วางหลักว่า “การเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้”                      
                      4.2 สิทธิในร่างกาย
                      ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 32 วางหลักว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย” แต่เนื่องจากบุคคลภายนอกมักจะมองคนกลุ่มนี้ว่าแตกต่างจากตน จึงมีผู้ที่นึกสนุกในการที่จะกลั่นแกล้งคนกลุ่มนี้ รวมถึงเหล่าเพศที่สามนี้มักถูกละเมิดทางเพศดังจะเห็นได้จากเทศกาลสงกรานต์ เหล่าเพศที่สามไปเล่นน้ำกันแล้วก็มักจะถูกกลุ่มคนเพศชายไปรุมแกล้งต่างๆนาๆ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในร่างกายของเพศที่สาม ซึ่งบางคนอาจถูกลวนลามโดยการจับหน้าอกโดยที่ผู้กระทำนั้นคิดว่าไม่เป็นอะไรเพราะเป็นผู้ชายเหมือนกัน แต่ผู้ที่ถูกกระทำมักคิดว่าตนถูกละเมิดทางเพศแต่ก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ แม้จะแจ้งตำรวจให้ดำเนินการก็มักจะถูกเพิกเฉย
                      4.3 สิทธิในการทำงานอย่างยุติธรรม
                      ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้วางหลักการเกี่ยวกับสิทธิในการทำงานเอาไว้ ข้อ 23
                      4.3.1 ทุกคนมีสิทธิในการงาน ในการเลือกงานโดยอิสระในเงื่อนไขอันยุติธรรม และเป็นประโยชน์แห่งการงาน และในการคุ้มครองต่อการว่างงาน
                      4.3.2 ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ
                      4.3.3 ทุกคนที่ทำงานมีสิทธิที่จะได้รับสินจ้างที่ยุติธรรมและเป็นประโยชน์ ที่จะให้ประกันแก่ตนเองและครอบครัวแห่งตน ซึ่งความเป็นอยู่อันคู่ควรแก่เกียรติศักดิ์ของมนุษย์ และถ้าจำเป็นก็จะต้องได้รับวิถีทางคุ้มครองทางสังคมอื่นๆเพิ่มเติมด้วย
                   4.3.4 ทุกคนมีสิทธิที่จะจัดตั้ง และที่จะเข้าร่วมสหพันธ์กรรมกร เพื่อความคุ้มครองแห่งผลประโยชน์ของตน รวมถึงรัฐธรรมนูญ มาตรา 43 ได้วางหลักว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม” แต่ในความเป็นจริงเพศที่สามมักถูกกีดกันหรือถูกห้ามไม่ให้ทำงานบางประเภทหรือแม้กระทั่งได้รับเงินค่าจ้างน้อยกว่าคนอื่น ปัญหานี้เกิดจากการไม่ยอมรับในความเป็นเพศที่ผิดปกติ ทำให้สถานที่ทำงานหลายแห่งปฏิเสธการรับเหล่าเพศที่สามนี้เข้าทำงานถึงแม้ว่าจะมีความสามารถเทียบเท่าหรือมากกว่าเพศปกติ ดังจะเห็นได้จากข่าวที่มีกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาแพทย์ว่าไม่รับเพศที่สามเข้าเรียน ห้ามไม่ให้เหล่าบรรดาครูเพศที่สามสอนเด็กนักเรียนเนื่องจากกลัวเด็กจะเกิดพฤติการณ์เลียนแบบเป็นต้น
                      4.4 สิทธิในการเปลี่ยนแปลงคำนำหน้าชื่อ
                      จะเห็นได้ในช่วงปี 2552 - 2553 ได้มีเหล่าเพศที่สามออกมาเรียกร้องให้ตนสามารถเปลี่ยนแปลงคำนำหน้าชื่อจากนายเป็นนางสาว หรือจากนางสาวเป็นนายได้เหมือนอย่างที่หญิงที่สมรสหรือหย่ากับสามีแล้วสามารถที่จะเลือกใช้คำนำหน้าว่า นาง หรือ นางสาวได้นี้ก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วก็ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้เหล่าเพศที่สามนี้เปลี่ยนไปใช้คำนามดังเช่นเพศปกติที่ตนต้องการจะเป็น เพราะอาจเกิดความสับสนทางสังคม และอาจส่งผลกระทบต่อฐานข้อมูลราษฎรในประเทศได้ เช่นตอนแจ้งเกิดเข้าฐานข้อมูลราษฎรระบุว่าเป็นเพศชาย หากต่อมาได้คำนำหน้าเป็นนางสาวก็ย่อมส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรได้ แต่หากต้องการที่จะเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อของเหล่าเพศที่สามนี้ก็อาจจะสามารถกระทำได้แต่อาจจะมีการกำหนดคำใหม่ขึ้นมาว่าจะเป็นอะไร หรือหากจะใช้นางสาวก็อาจจะมีวงเล็บว่าได้นางสาวมาจากสาเหตุอะไรเพื่อป้องกันการสับสน
                      4.5 สิทธิในการสมรส
                      4.5.1 ชายและหญิงที่มีอายุเต็มบริบูรณ์แล้ว มีสิทธิที่จะทำการสมรส และจะก่อตั้งครอบครัว โดยปราศจากการจำกัดใดๆ อันเนื่องจากเชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา ต่างมีสิทธิเท่าเทียมกันในการสมรส ระหว่างการสมรสและในการขาดจากการสมรส
                      4.5.2 การสมรสจะกระทำกันก็แต่ด้วยความยินยอมโดยอิสระและเต็มที่ของผู้ที่เจตนาจะเป็นคู่สมรส
                      4.5.3 ครอบครัวเป็นหน่วยธรรมชาติ และหลักมูลของสังคมและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากสังคมและรัฐ                   
                      สิทธิต่างๆที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิทธิที่ขาดหายไปของเหล่าบรรดาเพศที่สาม รวมถึงได้มีการเรียกร้องสิทธิทั้งหลายนี้ของเพศที่สามแล้วแต่ก็ไม่เคยได้รับการตอบสนองจากภาครัฐแม้ว่าบุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้ที่เสียภาษีให้แก่รัฐเหมือนกับคนอื่นๆ รวมถึงการไม่ได้รับการยอมรับในบางสังคมเพียงเพราะคนในสังคมนั้นมองว่าคนเหล่านี้เป็นพวกผิดปกติ เป็นที่น่ารังเกียจ โดยลืมนึกไปว่าคนเหล่านี้ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งอย่างไรก็ตามเราก็ควรเคารพสิทธิมนุษยชนของพวกเขาเหล่านั้นในฐานะมนุษย์เหมือนเราเช่นกัน
                      4.6 กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
                      ในภาษาอังกฤษย่อว่า LGBT (หรือ GLBT) ซึ่งเป็นตัวอักษรตัวแรกของคำว่า lesbian (เลสเบี้ยน) , gay (เกย์) , bisexual (ไบเซ็กชวล) , และ transgender/transsexual (คนข้ามเพศ) มีการใช้คำว่า LGBT มาตั้งแต่ยุค 90 ซึ่งดัดแปลงมาจาก “LGB” ที่ใช้ในการแทนวลี “สังคมเกย์” (Gay community) ที่ในหลาย ๆ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่รู้สึกว่าอธิบายกลุ่มคนพวกนี้ได้อย่างถูกต้องตามที่กล่าว ในการใช้สมัยใหม่ LGBT มีความหมายถึงความหลากหลายของเพศวิถี (Sexuality) และลักษณะการแสดงเพศทางสังคม และในบางครั้งอาจหมายถึงกลุ่มคนที่ไม่ใช่กลุ่มรักต่างเพศ แทนการระบุว่าเป็นเลสเบี้ยนเกย์ไบเซ็กชวล หรือ คนข้ามเพศ(จินดาวรรณ  สิ่งคงสิน,2551)

5. ประเภทของผู้ที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ


                 
ภาพที่3 คำศัพท์เรียกเพศในสังคมไทย
ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201507/17/7113722fb.jpg

                       5.1 กะเทย (HERMAPRODITE)
                      ทางการแพทย์เรียกเฉพาะคนที่มีความผิดปกติทางร่างกายจริงๆ ตั้งแต่กำเนิด มีลักษณะทางเพศคือ อวัยวะเพศหญิงและชายก้ำกึ่งกำกวมอยู่ในตัวคนเดียวกัน บอกไม่ได้ว่าเป็นหญิงหรือชายกันแน่ทางกายภาพ  ชาวบ้านมักเรียกผลไม้ที่มีเม็ดลีบว่ากะเทย เช่น ลำไยกะเทย คือลำไยที่มีเม็ดลีบมากๆเอาไปปลูกไม่ได้แล้ว  กะเทยจริงๆคือ คนที่มีความผิดปกติทางเพศในตัวอย่างชัดเจนก้ำกึ่งกัน เป็นหญิงก็ไม่ใช่ เป็นชายก็ไม่เชิง เป็นความผิดปกติทางกาย มีเต้านม มีอวัยวะเพศคล้ายๆผู้หญิง แต่ถ้าดูกันให้ชัดเจนจะเห็นมีองคชาติแต่นิดเดียว ความจริงแล้วเป็นช่องคลอด ถุงอัณฑะ ซึ่งจริงๆก็ไม่ใช่ถุงอัณฑะ แต่เป็นแคมนอกแล้วก็มีแคมใน เช่น เมื่อไม่นานมานี้ที่อีสานมีหนุ่มอยู่รายหนึ่ง ปวดท้องทุกเดือนๆ ปวดจนดิ้นเลย หมอรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ตรวจเท่าไรก็ไม่พบ จนสุดท้ายหมอตัดสินใจผ่าท้องดู พอเปิดหน้าท้องก็พบว่ามีมดลูกอันใหญ่ เพราะฉะนั้นทุกเดือนมดลูกจะขับประจำเดือนออกมา แต่ไม่มีทางออกมาภายนอกเหมือนผู้หญิงทำให้ตกอยู่ในช่องท้อง เดือนหนึ่งก็ปวดครั้งหนึ่ง การรักษาโดยการผ่าตัดเอามดลูกออกก็ทำให้เป็นชาย 100% เพราะร่างกายภายนอกเป็นชายทุกอย่าง
                      5.2 ลักเพศ (TRANSVESTITE)
                      ลักเพศ หมายถึง คนที่เกิดมาทางกายภาพเป็นชาย 100% เป็นหญิง 100% เป็นผู้ชายก็มีองคชาติ มีลูกอัณฑะ มีฮอร์โมนเพศครบถ้วน เป็นผู้หญิงก็มีอวัยวะต่างๆของหญิงครบถ้วน คนกลุ่มนี้มีรสนิยมทางเพศแปลก คือ จะมีความสุขทางเพศเกิดขึ้นจากการที่ได้สวมใส่เสื้อผ้าเครื่องใช้ของเพศตรงข้ามกับเพศธรรมชาติของตนเอง เช่น เป็นชายก็จะเอาเสื้อผ้าเครื่องใช้ของหญิงมาใส่ การได้ทำอย่างนั้นจะเกิดความรู้สึกตื่นเต้นมีความสุขทางเพศขึ้นมา ใครที่เคยไปดูโชว์ที่พัทยา คนไทยมักเรียกกันผิดๆว่าเป็นโชว์กะเทย ความจริงถ้าจะเรียกกันให้ถูกต้องคือ โชว์ลักเพศ อย่างพวกเด็กหนุ่มๆหน้าตาดีๆ เต้นกินรำกินอยู่ที่อัลคาซาร์ทิฟฟานี หรือไซมอน ไม่ใช่เป็นเกย์ทุกคน มีจำนวนหนึ่งที่เป็นลักเพศ หลายๆคนมีเมียมีลูก ตอนกลางวันอยู่กับเมียกับลูก ทุกอย่างเหมือนผู้ชายธรรมดาทั่วไป แต่พอเย็นลงได้เวลาก็ไปแสดงบนเวที มีความตื่นเต้นทางเพศเกิดขึ้น ไม่ได้เป็นรักร่วมเพศเสมอไป นักเรียนชายตามโรงเรียนดีๆทั้งหลายในกรุงเทพฯจำนวนมากทีเดียว เวลาว่างหรือเย็นวันศุกร์จะรวมกลุ่มกันแต่งหน้าทาปากซะหรูหราเลย เดินกันเป็นกลุ่มไปเที่ยวตามบาร์ต่างๆที่พวกเด็กชอบเที่ยวกัน  พวกนี้อาจจะยังไม่ได้เป็นรักร่วมเพศ แต่เป็นแค่ลักเพศเท่านั้น แต่ถ้าพ่อแม่หรือผู้ปกครองไม่เข้าใจ จับใส่ตะกร้าเกย์หมด การช่วยเหลือจะผิดไปมากเลย
                      5.3 เปลี่ยนเพศ (TRANSSEXUAL)
                      คนพวกนี้เกิดมาเป็นชาย 100% เป็นหญิง 100% ไม่มีความผิดปกติทางร่างกายเลยแม้แต่นิดเดียว ฮอร์โมนปกติทุกอย่าง เพียงแต่เขามักจะบอกว่าเป็นอุบัติเหตุของพระเจ้าจริงๆที่ส่งเขาซึ่งมีวิญญาณมีชีวิตจิตใจเป็นหญิงมาเกิดบนร่างชาย หรือส่งเขาซึ่งมีวิญญาณที่เป็นชายมาเกิดบนร่างของผู้หญิง พูดง่ายๆคือจิตใจวิญญาณบางครั้งตรงกันข้ามกับเพศธรรมชาติของเขา พวกนี้จะทำทุกอย่างเพื่อเปลี่ยนเพศให้ได้  
                      5.4 รักต่างเพศ (HERTEROSEXUAL)
                      คนปกติหรือสัตว์ปกติเป็นรักต่างเพศ ถ้าเป็นชายก็รักหญิง โดยสัญชาตญาณแล้ว คือรักคนที่เป็นเพศตรงข้ามกับเรา
                      5.5 รวมเพศ (BISEXUAL)
                      เป็นรัก 2 เพศ คือรักได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เรียกได้ว่าได้ทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ มีมากกว่าพวกรักร่วมเพศเสียอีก ในสังคมไทยมีมากแต่งงานมีลูกแล้วมีชีวิตรักส่วนตัวชอบไม้ป่าเดียวกันชายที่เป็นรัก 2 เพศก็เยอะ หญิงที่เป็นรัก 2 เพศก็มาก พวกนี้ฟังดูเหมือนได้เปรียบคนอื่นเขา แต่จะมีพฤติกรรมทางเพศเด่นไปทางใดทางหนึ่งจะเป็นชนิด 50:50 ไม่ค่อยมี
                      5.6 รักร่วมเพศ (HOMOSEXUAL)
                      รักร่วมเพศ หมายถึง คนที่มีความสุขทางเพศกับคนที่เป็นเพศเดียวกับตนเอง ถ้าเกิดมาเป็นชายก็ชาย 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะร่างกาย จิตใจ อวัยวะเพศ เป็นหญิงก็ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าจะเกิดความสุขความพอใจทางเพศกับคนที่เป็นเพศเดียวกัน ถ้าเป็นชายรักกับชาย เรียกว่ารักร่วมเพศชาย  ถ้าเป็นหญิงรักกับหญิง เรียกว่ารักร่วมเพศหญิง รักร่วมเพศชายส่วนมากเรียกว่า เกย์ (GAY) ระยะหลัง 4-5 ปีที่ผ่านมามีคำว่า ตุ๊ด เข้ามาเกี่ยวข้อง (เมื่อก่อนเรียกเกย์) บางคนบอกว่าตุ๊ดต้นศัพท์คงจะมาจาก ตูด แต่ความจริงมาจากศัพท์ว่า ทุซซี่ ชื่อหนังเรื่องหนึ่งที่เข้ามาฉายในเมืองไทย หลังจากนั้นมาชาวเกย์ทั้งหลายก็เรียกคนที่ออกไปทางผู้หญิงหน่อย หรือเกย์ควีนว่า ตุ๊ด
                      เกย์แบ่งออกเป็น 2 จำพวกคือ เกย์คิงและเกย์ควีนเกย์คิง หมายถึง คนที่เป็นเกย์ชาย แต่ว่าลักษณะข้างนอกก็บอกไม่ได้ หลายๆคนเห็นลักษณะภายนอกแล้วตัดสินว่าใครเป็นเกย์คิงเกย์ควีนไม่ได้ หลายๆคนเห็นลักษณะภายนอกแล้วตัดสินว่าใครเป็นเกย์คิงเกย์ควีน บอกได้บ้างแต่ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ การตัดสินว่าใครเป็นเกย์คิงเกย์ควีน อยู่ที่พฤติกรรมทางเพศ ใช้บทบาททางเพศในการแบ่ง  มีการพูดกันเสมอว่าเกย์คิงคงจะจีบเกย์ควีน ตรงกันข้ามเลย ทั้งเกย์คิงและเกย์ควีนจะเกลียดซึ่งกันและกัน จะมีมีโอกาสเห็นเกย์คิงและเกย์ควีนไปด้วยกัน แต่ทั้งเกย์คิงและเกย์ควีนจะแข่งกันจีบผู้ชายดีๆ ผู้ชายที่เป็นผู้ชาย 100 เปอร์เซ็นต์ บุคลิกดี สง่า หล่อเหลา เป็นที่ต้องตาต้องใจของทั้งเกย์คิงและเกย์ควีนมากขึ้น เราจะใช้ลักษณะภายนอกตัดสินว่าใครเป็นเกย์ไม่ได้ คนในสังคมไทยหลายๆคนที่เป็นผู้ชายทั้งแท่งเลย สง่า มีงานที่มั่นคง แต่ชีวิตส่วนตัวอาจจะเป็นเกย์คิง หรือเกย์ควีนก็ได้  ตรงกันข้าม บางคนดูเผินๆว่าเป็นเกย์ เดินกระตุ้งกระติ้งจริงๆแล้วไม่ได้เป็นเกย์หรอก เพราะฉะนั้นอย่าด่วนตัดสินลงไปด้วยลักษณะภายนอกเป็นอันขาด คนที่ท่านไม่เคยคิดว่าเป็นเกย์อาจจะเป็นเกย์ก็ได้ สัญลักษณ์ของเกย์มีหลายชนิด สื่อกันได้ต่างๆ ตั้งแต่สัญลักษณ์มือ เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า เกย์ทั้งหลายเขาจะสื่อกันได้ มีสัญญาณที่จะบอกว่าเขาชอบลักษณะไหน เพื่อที่จะจับคู่กันได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาคุยกันนาน
                      รักร่วมเพศหญิงหรือเลสเบี้ยนมาจากคำว่า เลสโบ เป็นชื่อเกาะๆหนึ่งในประเทศกรีก เจ้าผู้ครองเกาะมีลูกสาวสวยชื่อแซฟโฟร เป็นกวีเอกของกรีกและเป็นรักร่วมเพศหญิง  บทกวีนิพนธ์ของแซฟโฟรบรรยายความรักระหว่างหญิงต่อหญิงด้วยกัน ชาวกรีกอ่านกวีนิพนธ์ของแซฟโฟรบ่อยๆ ก็เลยนึกว่าคนบนเกาะเลสโบคงจะทำอย่างนี้กันหมดก็เลยเรียกคนที่มีบทบาททางเพศแบบรักร่วมเพศหญิงว่า เลสเบี้ยน ทำเหมือนกับพวกชาวเกาะเลสโบ  เมืองไทยเมื่อก่อนนี้ก็เรียกว่าเลสเบี้ยนมาตลอด แต่ต่อมาระยะไม่ถึง 10 ปี ได้เปลี่ยนมาเรียกกันว่าทอม และปัจจุบันนี้ทอมกับดี้มีค่อนข้างมากในสังคมไทย พ่อแม่จะเลี้ยงลูกกันอย่างไรนั้นสำคัญน้อยกว่าพ่อแม่ปฏิบัติต่อกันอย่างไร

6. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศ

                      6.1 อิทธิพลของครอบครัว
                      ครอบครัวเป็นสถาบันแห่งแรกที่อบรมทางด้านจิตใจและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพให้แก่เด็ก  ครอบครัวจึงมี อิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆรวมทั้งพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นด้วย
                      6.2 อิทธิพลของเพื่อน   
                      การคบเพื่อนมีความสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตของวัยรุ่นเพราะเพื่อนจะมีอิทธิพลในเรื่อง ความคิดความเชื่อตลอดจนให้คำปรึกษา หรือแนะนำในเรื่องต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมทางเพศ  และ อาจชักจูงไปในทางที่ดีและไม่ดีอีกด้วย
                      6.3 อิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรม
                      ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งนี้เพราะปัจจุบัน  สังคมและวัฒนธรรมถือเป็นปัจจัยที่อิทธิพลหนักแน่นอยู่กับมนุษย์  อิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมที่ มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศมีดังต่อไปนี้  
                            6.3.1 ความเชื่อเกี่ยวกับบทบาททางเพศและการปฏิบัติตนต่อทางเพศตรงข้าม  อิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมมีบทบาทในการถ่ายทอดความคิด ความเชื่อในเรื่องของบทบาททาง เพศ และการปฏิบัติตนต่อเพศตรงข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมแบบชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) จะ เห็นได้ชัดว่าผู้ชายจะเป็นเพศที่มีบทบาทมากกว่าผู้หญิง และจะถูกมองว่าเป็นผู้นำ มีความเข้มแข็ง ฯลฯ 
                            6.3.2 ค่านิยมทางเพศ  สังคมและวัฒนธรรมมีส่วนในการทำให้เกิดค่านิยมทาง เพศทั้งแบบที่ดีและไม่ดีได้  เช่น ค่านิยมในเรื่องการรักนวลสงวนตัว ซึ่งปัจจุบันดูเหมือนจะเป็นค่านิยม ที่ถูกมองข้ามไป ทั้งนี้เพราะสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่มีลักษณะของการได้รับเผยแพร่อารยะธรรม จากต่างประเทศมากขึ้นทำให้ค่านิยมแบบเดิมๆ อย่างการเป็นกุลสตรี การรักนวลสงวนตัวกลายเป็น สิ่งที่ถูกมองข้ามหรือมองว่าล้าสมัย(กฤตยา อาชวนิจกุล,ม.ป.ป,ไม่ปรากฏเลขหน้า)

7. มองเพศที่สามอย่างเข้าใจ

                การเป็นเกย์และกะเทยส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา นอกนั้นคือสิ่งแวดล้อม สังคมและการเลี้ยงดูในครอบครัว

8. เพศที่สามกับสังคม



ภาพที่4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับเพศที่สาม
ที่มา : http://nidapoll.nida.ac.th/file_upload/poll/photo/20160608033702.jpg


                      คนทั่วไปส่วนใหญ่ยังมีความสับสนเรื่องผู้ชายที่รักผู้ชายด้วยกันหรือ ผู้ชายที่มีกิริยามารยาทคล้ายผู้หญิง นอกจากคนในสังคมจะสับสนและไม่เข้าใจแล้ว ยังมองบุคคลเหล่านี้ไปในทางลบ  ทั้งนี้ จะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าผู้ชายมีหลักๆ 3 กลุ่มคือ
                      8.1 กลุ่มผู้ชายที่รักผู้หญิง(เพศตรงข้าม-ต่างเพศ) ซึ่งสังคมทั่วไปยอมรับ
                      8.2 กลุ่มผู้ชายที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชาย แค่รักผู้ชายด้วยกัน (เพศเดียวกัน-ร่วมเพศ)  ซึ่งมักนิยามตัวเอง ว่า เกย์ (gay) มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลว่า สดใส ร่าเริง
                      8.3 ผู้ชายที่มีจิตใจเป็นผู้หญิง หรือเป็นผู้หญิง ที่อยู่ในร่างของผู้ชายนั่นเอง คำไทยมักใช้ว่า “กะเทย” (transgender หรือ transsexual)                     
                      เนื่องจากเด็กรับรู้ว่าสังคมทั่วไปมีความรู้สึกรังเกียจ เกย์และกะเทย เด็กจึงสับสนไม่แน่ใจ ในการวางตัวในสังคม เกิดความวิตกกังวล ความเครียด และพยายามปิดบังความรู้สึกของตนเอง บางคนพยายามป้องกันตนเอง โดยพยายามทำตัวเป็นชายชาตรี เช่น พยายามมีคนรักเป็นผู้หญิงหลายๆ คน เพาะกายให้ดูเป็น "แมน" แสดงตนก้าวร้าว ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ มีเด็กบางคนก็พยายามหาสิ่งทดแทนความด้อย เช่น พยายามขยันตั้งใจเรียน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เพื่อน ซึ่งเป็นการทดแทนที่ดี ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองและครูไม่เข้าใจ เด็กจะยิ่งมีความทุกข์ทรมานใจมากขึ้น บางคนมาปรึกษาแพทย์เพื่อขอฉีดฮอร์โมนเพศชาย โดยหวังว่าฮอร์โมนเพศชายจะช่วยเปลี่ยนความรู้สึกและความต้องการในใจ แต่ความเป็นจริงฮอร์โมนเหล่านี้ไม่ได้มีผลดังที่หวังเลย

               
9. ชีวิตชายรักชาย




ภาพที่5 แสดงให้เห็นว่าชายรักชาย
ที่มา : http://www.creditonhand.com/images/sex/20145281642261.jpg


                      ผลจากการศึกษากลุ่มชายรักชาย 100 คน ซึ่งเป็นเกย์ 95 คน เป็นกะเทย 5 คน พบว่า 40 คน ทำงานเป็นลูกจ้างในสำนักงาน รองลงมาคือ ธุรกิจส่วนตัว สถานเสริมความงาม ร้านอาหาร ร้องเพลง ครูเต้นรำ นาฏศิลป์ และพิธีกร ตามลำดับ ในจำนวนนี้ 61 คน มีความสัมพันธ์ทางเพศครั้งแรกกับผู้ชาย และจำนวน 34 คน มีความสัมพันธ์ทางเพศครั้งแรกกับผู้หญิง ผู้เข้ารับการสำรวจยังบอกว่ามีประสบการณ์ทางเพศหรือมีความสัมพันธ์ทางเพศครั้งแรกส่วนใหญ่เนื่องจากความรัก หรือความต้องการทางเพศ และอีก 5 คนยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ด้านชีวิตการแต่งงานพบว่า 88 คน ยังเป็นโสดหรือมีคู่เป็นผู้ชาย และอีก 12 คน เคยแต่งงานกับหญิง ในจำนวนทั้งหมดนี้ 4 คน หย่ากับภรรยาแล้ว เพราะ “เข้ากันไม่ได้” อีก 2 คน หย่ากับภรรยาทั้งที่ครอบครัวมีความสุขพอควร แต่ยอมเสียสละให้ภรรยาได้มีโอกาสมีสามีที่เป็นชายเต็มตัว อีก 1 คน กำลังจะหย่ากับภรรยา เพราะพบแฟน เป็นชายที่ให้ความสุขได้มากกว่าภรรยาส่วนอีก 5 คน ยังอยู่กับภรรยาและครอบครัวอย่างมีความสุขจากการสำรวจพบข้อสังเกตว่าโอกาสล้มเหลวของ เกย์ที่แต่งงานกับผู้หญิงมีค่อนข้างมาก แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจช่วยให้ชีวิตแต่งงานประสบความสำเร็จ คือรสนิยมทางเพศต้องเอียงไปทางชอบผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย หรือแต่งงานกันด้วยความรักและความเข้าใจ มีความซื่อสัตย์มั่นคงไม่นอกใจภรรยามีความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว รวมทั้งภรรยามีความเข้าใจ ยอมรับ และให้อภัยด้วยเรื่องความเสี่ยงต่อโรคเอดส์ พบว่ามี 69 คนที่ตรวจเลือดหาโรคเอดส์ มีผลการตรวจเป็นบวก (ติดเชื้อเอชไอวี-เอดส์)  5 ราย หรือร้อยละ 7.6 ซึ่งนับว่าสูงกว่าประชากรทั่วไป สำหรับเรื่องของการป้องกันหรือการดูแลสุขภาพร่างกายหลังจากติดเชื้อเอดส์แล้วทางหน่วยงานที่มีส่วนในการรับผิดชอบควรมีมาตรการช่วยเหลือให้มากขึ้น

10. เพศที่สามกับการแปลงเพศ

                      สำหรับชายใจหญิงหรือกะเทยหลายคนที่มีความต้องการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เหมือนผู้หญิงให้มากที่สุด นั่นคือเลือกผ่าตัดแปลงเพศ  ประเทศไทยมีศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญผ่าตัดแปลง เพศและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกหลายท่าน นอกจากคนไทยที่ขอเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศแล้วยังมีจากประเทศ อื่นๆ เช่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สวีเดน บราซิล การผ่าตัดแปลงเพศต้องผ่านขั้นตอนและกฎเกณฑ์ ต่างๆ หลายอย่าง  เพราะเมื่อทำการผ่าตัดเปลี่ยนเป็นเพศหญิงแล้วจะเปลี่ยนกลับมาเป็นเพศชายที่สมบูรณ์อีกไม่ได้ง่ายๆ  โดยผู้เข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศจะต้องมีอายุ 20-65 ปี ผ่านการทดสอบโดยจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา  ผ่านการตรวจจากแพทย์ทางต่อมไร้ท่อ การให้คำปรึกษาความพร้อมทางด้านจิตใจ เป็นต้น 
                      แพทย์ไทยที่ทำงานด้านนี้ต้องใช้ความประณีตมาก เนื่องจากเป็นทั้งงานผ่าตัดและงานศิลปะ ในการเปลี่ยนอวัยวะเพศชายให้เป็นหญิงและร่วมเพศได้เช่นเดียวกับหญิงทั่วไป ผู้ที่ขอเข้ารับการผ่าตัดส่วนหนึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับเรื่องความสุขทางเพศ แต่มีจุดมุ่งหมายอยากจะเป็นผู้หญิงที่สมบูรณ์  หลายคนยืนยันชัดเจนว่า ความปรารถนาสูงสุดคือ อยากตายในสภาพ ที่เป็นหญิง สำหรับผู้ชายไทยหรือกลุ่มคนเอเชียจะมีรูปหน้าไม่ต่างกับผู้หญิงมากนัก จึงไม่ต้องทำการผ่าตัดแปลงรูปหน้าให้มาก แต่ถ้าเป็นฝรั่งหรือคนต่างชาติ รูปหน้าดั้งเดิมจะมีความแตกต่างจากผู้หญิง จึงต้องมีการผ่าตัด แปลงรูปหน้าให้เป็นผู้หญิงด้วย (facial feminization) ปัจจุบันการผ่าตัดแปลงเพศได้พัฒนาไปอย่างมาก ซึ่งอาการแทรกซ้อนขณะที่ผ่าตัดและหลังผ่าตัดมีน้อยมาก  แต่หลังการผ่าตัดไปแล้วทุกคนยังต้องติดต่อกับแพทย์และให้ฮอร์โมนเสริมหลังการผ่าตัดด้วยสังคมไทยเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนมาก เกย์และกะเทยหลายคนได้สร้างชื่อเสียงให้กับครอบครัว และประเทศเราเป็นอย่างมาก แนวทางการดำเนินชีวิตก็ไม่ได้แตกต่างจากคนทั่วไป และหวังว่าสังคมไทยจะเข้าใจเกย์และกะเทยมากขึ้น และควรมีที่ให้กับบุคคลเหล่านี้ได้อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีเช่นเดียวกับคนทั่วไป(สุพร เกิดสว่าง,2551)  

ภาคผนวก


คนไทยข้ามเพศ

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=KP7LEtdW7AQ


ความหลายหลายทางเพศ

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=0Ho5-Er3q1k


สิทธิการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=WbqrKXCLGus


รักข้ามเพศ


ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=GV7fucXo43c


                                                             บรรณานุกรม

    กฤตยา อาชวนิจกุล .ม.ป.ป.รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของภาพยนตร์กับพฤติกรรมทางเพศของ วัยรุ่นไทยกรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
   จินดาวรรณ สิ่งคงสิน.(2551).เปิดม่านเวทีเกย์.[ออนไลน์].สืบค้นจากhttp://www.oknation.net/blog/ fahhsuwanan/2015/07/21/entry-1.
   ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่.(2552).มุมมองแตกต่างของนักจิตวิทยา.[ออนไลน์].สืบค้นจากhttp://www2.ipsr. mahidol.ac.th/newsletter/index.php/component/content/article/99-popdev-vol35-no1/237- sexual-divErsity.html.
    รัจรี นพเกตุ.(2542).มนุษย์:จิตวิทยาทางเพศ.กรุงเทพมหานคร: ประกายพรึก.
    สุพร เกิดสว่าง.(2551). ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยมหิดลและนักวิจัยสถาบันวิจัยระบบ             สาธารณสุขหมอชาวบ้าน.[ออนไลน์].สืบค้นจาก https://www.doctor.or.th/article/detail /1078.
King B.M.1996.p.225 อ้างอิงในรัจนี นพเกตุ. (2542).น.84-85.


                                                              จัดทำโดย

                                                    นางสาวหทัยชนก บัวผัน

                                                       นางสาวสิรีธร เพ็งอุ่น

                                                  นางสาวแพรพิไล สิบสี่ชัยยะ

                                                       นายณัฐวุฒิ อินชิดจุ้ย

                                              สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น